พาเลทมีกี่ประเภท เลือกใช้อย่างไร

พาเลท คือ

พาเลท (Pallet) คือ แท่นสำหรับวางสินค้าเพื่อขนย้ายหรือจัดส่งและวางสินค้าในสถานที่เก็บสินค้า ลักษณะของพาเลทจะมีช่องไว้สำหรับให้งาของรถยก(Fork Lift) เสียบแท่นสินค้าขึ้นมา ช่วยให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการเคลื่อนย้าย และยังประหยัดเวลา แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ลักษณะของพาเลทที่นิยมใช้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1.พาเลทแบบใช้ครั้งเดียว (Single Used) วัสดุที่นำมาใช้ทำพาเลท ชนิดนี้มักจะเป็นวัสดุที่มีราคาถูกและเหมาะสมกับงานที่ใช้ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารถทำลายทิ้งได้ง่าย เช่น พาเลทไม้ หรือพาเลทกระดาษ

2.แบบการใช้หมุนเวียน (Recycle used) เป็นงานที่จะต้องใช้เพื่อการขนส่ง เช่น การขนถ่ายสินค้าจากคลังเก็บสินค้าไปยังหน้าร้านต่าง ๆ แล้วนำพาเลทกลับมาใช้อีกรอบ ซึ่งพาเลท จะต้องมีความแข็งแรงและมีความทนทานต่อการใช้งานค่อยข้างสูง เช่น พาเลทพลาสติก

ประโยชน์ของพาเลท

1.ใช้ในการขนย้ายสินค้าจากคลังเก็บสินค้าไปยังยานพาหนะที่จะใช้ในการขนส่ง เช่น ขนส่งทางเรือ ทางอากาศหรือเครื่องบิน และทางรถยนต์

2.พาเลทกระดาษ พาเลทไม้ และพาเลทพลาสติกหรืออื่นๆ ช่วยให้ระบบการขนย้ายสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาและประหยัดค่าจ่ายในการขนส่ง

3.การใช้พาเลทเป็นแท่นรองรับสินค้า ช่วยลดความเสียหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งหรือระหว่างการเคลื่อนย้ายได้ดี

4.พาเลทกระดาษ และพาเลททำจากวัสดุอื่นๆ ช่วยให้การจัดเก็บภายในคลังสินค้ามีระบบ จัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่ และช่วยเพื่มพื้นที่ในการจัดเก็บให้เป็นระเบียบง่ายต่อการเคลื่อนย้าย

5.ระบบการจัดเก็บสินค้าแบบพาเลท ช่วยให้เกิดความสะดวกในการจัดเก็บและการตรวจนับสินค้าคงเหลือในคลังทำได้ง่ายขึ้น

6.พาเลทกระดาษที่เหมาะสำหรับใช้ครั้งเดียว ยังเป็นประโยชน์ต่อการกระจายสินค้าจากคลังสินค้าไปตามบูธ หรือตามงานแสดงสินค้าต่างๆ

7.การเลือกใช้พาเลทแต่ละประเภทให้เหมาะกับลักษณะงาน ยังช่วยในการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขนาดของ พาเลท  มีกี่ประเภท มารู้จักกันดีกว่า?

ขนาดของพาเลท   สามารถแบ่งได้อย่างหลากหลาย   ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งขนาดตามประเทศที่นำไปใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามมาตรฐานต่างๆ สามารถแยกขนาดของพาเลทได้ตาม   ประเภทที่นิยมใช้งานได้เป็นหลักๆ ดังต่อไปนี้

- ขนาดEuro pallet   เป็นพาเลทแบบเล็ก   ขนาดประมาณ   80X120X15  cm   ซึ่งเป็นขนาดที่ใช้สำหรับขนส่ง   ขนย้ายเป็นหลัก

- ขนาดJapan pallet   เป็นพาเลทแบบมาตรฐาน   110X110X15 cm เป็นขนาดที่นิยมในแถบเอเชีย   สำหรับการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ

- ขนาดThai pallet   เป็นพาเลทแบบที่นิยมใช้ในไทย   100X120X15   cm   เป็นขนาดที่นิยมใช้ทั้งการขนส่ง และ   นำไปทำเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งบ้าน

พาเลทมีกี่ประเภท เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม

พาเลท(Pallet) เป็นอุปกรณ์สำหรับรองรับสินค้าที่มีน้ำหนักมากๆ เพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย เพราะ ลักษณะของพาเลทจะเป็นแท่นรูปทรงสี่เหลี่ยม  ฐานของพาเลทจะมีช่องว่างสำหรับให้รถยก(รถโฟคลิฟท์) ซึ่งวัสดุในการทำพาเลทก็จะแตกต่างกันออกไปตามวัสดุที่เลือกใช้  เช่น พาเลทไม้ พาเลทโฟม แท่นพาเลท(เหล็ก) มารู้จักกันว่า พาเลท มีกี่ประเภท   และจะเลือกใช้อย่างไรถึงจะเหมาะสม

- พาเลทไม้(Wooden Pallets)   เป็นพาเลทที่นิยมนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด   เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย   ใช้งานได้ทนทาน   ง่ายต่อการผลิต   และ ยังสามารถเลือกประเภทของไม้ได้หลากหลายอีกด้วย

ข้อดีของพาเลทไม้  

- มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถรับน้ำหนักของได้มาก

- หาได้ง่าย   และ   ง่ายต่อการผลิต

- สามารถใช้ซ้ำได้หลายรอบ และ สามารถซ่อมแซ่มได้ง่าย

ข้อเสียของพาเลทไม้  

- อาจจะเกิดการบิดงอ   โก่ง ของไม้ได้

- มีปัญหาเรื่องเชื้อรา   แมลงศัตรูพืช ได้ง่าย

เหมาะสำหรับใช้งานอย่างไร : การขนส่งสินค้าต่างๆ   หรือ   นำไปประยุกต์ในการทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ   ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ตู้ ชิงช้า เป็นต้น เนื่องจากเป็นวัสดุที่ค่อนข้างถูก   ทำให้เหมาะสำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด

- พาเลทโฟม(Foam Pallets)   เป็นประเภทของพาเลทที่สามารถใช้งานได้ง่าย   มีขนาดเบา   สามารถหาวัสดุได้ง่าย   และ   ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย

ข้อดีของพาเลทโฟม

- น้ำหนักเบา   ทำให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย

- ไม่ต้องกังวลเรื่องของเชื้อรา   แมลง   และ ความชื้น

ข้อเสียของพาเลทโฟม

- ไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักได้น้อย

- ยากต่อการทำลาย และ ย่อยสลาย

เหมาะสำหรับใช้งานอย่างไร : ใช้สำหรับรองคั่นระหว่างของสินค้าแต่ละชั้น   สำหรับสินค้าที่ต้องระวังเสียหายเป็นพิเศษ   เหมาะสำหรับคนที่มีงบประมาณน้อย   เนื่องจากโฟมมีราคาถูก

- พาเลทพลาสติก(Plastic Pallets)   เป็นพาเลทอีกประเภทที่สามารถใช้งานได้นาน   ทนทานสูง   และ   ยังเป็นอีกประเภทที่นิยมใช้กันอย่างมากอีกด้วย

ข้อดีของพาเลทพลาสติก

- มีน้ำหนักเบา แต่มีความทนทานแข็งแรง

- สามารถนำไปใช้ซ้ำได้   และ   ง่ายต่อการรักษา   ซ่อมแซ่ม

- ไม่ต้องกังวลเรื่องของความชื้น   และ   แมลง

ข้อเสียของพาเลทพลาสติก

- หากพาเลทไม่หนาพอ อาจจะส่งผลต่อการรับน้ำหนักของสินค้าที่มีน้ำหนักมาก

- ยิ่งใช้พลาสติกหนา   พาเลทก็ยิ่งแพง

เหมาะสำหรับใช้งานอย่างไร : ใช้ในการวางสินค้า   จัดระเบียบสินค้า   และ  ขนส่งสินค้าที่น้ำหนักไม่ได้มากจนเกินไป   เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความทนทานของวัสดุที่แข็งแรง แต่ไม่หนักจนเกินไป   แต่มีราคาไม่แพง

- พาเลทกระดาษ(Paper Pallets)   เป็นพาเลทประเภทที่มีน้ำหนักเบาที่สุด   อีกทั้งยังแข็งแรงน้อยที่สุดอีกด้วย   ไม่เหมาะสำหรับใช้งานถาวร   หรือ   ใช้ซ้ำ

ข้อดีของพาเลทกระดาษ

- น้ำหนักเบา ง่ายต่อการใช้งาน   และ   เครื่อนย้าย

- สามารถขนย้ายได้โดยไม่ต้องประทับตรา   IPPC

ข้อเสียของพาเลทกระดาษ

- ความแข็งแรงค่อนข้างน้อย

- ไม่ค่อยทนทานต่อ น้ำ  ความชื้น  และ แมลง

เหมาะสำหรับใช้งานอย่างไร :ใช้ในการรองรับสินค้าไม่ให้สัมผัสกับสินค้าโดยตรง   เหมาะสำหรับคนที่ต้องการวัสดุที่ราคาไม่แพง   และ   การใช้งานสำหรับครั้งเดียว

- พาเลทเหล็ก(Steel Pallets)   เป็นพาเลทที่อาศัยการนำเหล็กมาตัดเป็นขนาดต่างๆ   เป็นพาเลทที่ไม่เหมาะสำหรับใช้รถยก   เนื่องจากมีน้ำหนักค่อนข้างมาก

ข้อดีของพาเลทเหล็ก

- มีความแข็งแรง ทนทานสูง สามารถรับน้ำหนักได้มาก

- สามารถใช้งานได้ยาวนาน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องแมลง

ข้อเสียของพาเลทเหล็ก

- น้ำหนักค่อนข้างมาก ทำให้ขนย้ายค่อนข้างลำบาก

- มีราคาค่อนข้างสูง

เหมาะสำหรับใช้งานอย่างไร : ใช้สำหรับวางสินค้าที่มีน้ำหนักมากๆ   ไม่เหมาะสำหรับใช้ในการขนส่ง   ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีงบจำกัด เพราะ วัสดุค่อนข้างราคาสูง

การจัดการโลจิสติกส์ในกระบวนการขนส่งสินค้า นอกจากเรื่องของบรรจุภัณฑ์ประเภท กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก กระดาษฝอย กระดาษรองกล่อง เยื่อกระดาษขึ้นรูป รวมไปถึง บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ที่ช่วยปกป้องและรักษาคุณภาพของสินค้าไม่ให้แตกหักหรือชำรุดเสียหายแล้ว อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการขนส่งก็คือ พาเลท เพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้า สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่วันนี้เรามีเรื่องของพาเลท และประโยชน์ที่ผู้ประกอบการควรรู้

เครดิต : hongthaipackaging, thaicarpenter

เรียบเรียงโดย : โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ (ITBS)

Visitors: 106,553