ขั้นตอนนำเข้าสินค้าและเอกสารที่ต้องเตรียมนำเข้า

ขั้นตอนนำเข้าสินค้าและเอกสารที่ต้องเตรียมนำเข้า

ปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากนำเข้า (Import) สินค้าจากต่างประเทศทั้งจีน ยุโรป อเมริกาหรือเพื่อนบ้านอาเวียนมาขายในไทยไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ ของชำร่วย อะไหล่ยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าไอทีและเทคโนโลยี ฯลฯ หลายคนทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ เหตุที่สินค้านำเข้าเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะแปลก แตกต่าง มีเอกลักษณ์ ราคาถูก คุณภาพดี

การที่เข้ามาทำธุรกิจนี้ผู้ประกอบการรายใหม่ควรเตรียมพร้อมด้วยการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เช่น หาสินค้าที่ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า ทราบพิกัดภาษีให้ชัดเจน ติดต่อกับผู้ขายในต่างประเทศ ติดต่อชิบปิ้งเพื่อนำเข้าสินค้า วิธีการตลาดออนไลน์ ออฟไลน์ การหาตัวแทนจำหน่าย วิธีการโอนเงินและส่งสินค้า เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องทราบขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมในการนำสินค้ามาขายในประเทศ อีกด้วย ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศจะถูกขนส่งทางเรือหรือทางเครื่องบิน ผู้ประกอบการต้องเตรียมเอกสารและปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนนำเข้าสินค้ามาขายในประเทศ

เมื่อสินค้าถึงปลายทาง ผู้ประกอบการติดต่อสายการเดินเรือหรือท่าอากาศยานเพื่อชำระค่าใช้จ่ายปลายทาง นำใบตราส่งสินค้าเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้า โดยผู้ประกอบการจะต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าก่อนจึงจะเบิกของได้ ซึ่งพิธีการศุลกากรใช้ระบบดิจิตอลทั้งหมด บันทึกข้อมูลพร้อมลงลายมือชื่อในโปรแกรมส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยผู้ประกอบการเข้าสามารถทำด้วยตนเอง, ผ่านชิบปิ้ง หรือ ผ่าน Service Counter ก็ได้ ซึ่งเรียกว่า ผู้นำเข้า


1.ขั้นตอนนำเข้าสินค้าอย่างแรกที่ต้องทำคือ ยื่นเอกสารข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

ผู้นำเข้าบันทึกข้อมูลต่าง ๆ  ดังนี้

- ข้อมูลเรือเข้า

- ใบตราส่งสินค้า

- บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ

- บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ

- เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุก ผู้รับประกันภัยธนาคาร เป็นต้น

- ใบอนุญาตนําเข้าหรือเอกสารอื่นใด กรณีสินค้านําเข้าเป็นของต้องจำกัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- กรณีเภสัชเคมีภัณฑ์ เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสําเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้โดยง่าย ควรมีเอกสารใบรับรองการวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสาร รายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet)

เพื่อแปลงเป็นใบขนสินค้าโดยอัตโนมัติ จากนั้นส่งสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรทางอินเตอร์เน็ต

2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

เมื่อศุลกากรได้รับข้อมูลเรียบร้อย ทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้าได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ผู้นำเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาของสินค้า

หากมีข้อผิดพลาด ศุลกากรแจ้งกลับมายังผู้นำเข้าเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง ส่งกลับกรมศุลกากรอีกครั้ง ขั้นตอนนี้อาจเกิดหลายครั้งหากข้อมูลยังผิดพลาดเมื่อข้อมูลทั้งหมดถูกต้องครบถ้วน ศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้

3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพิสูจน์เงื่อนไขชำระภาษีอากรขาเข้า

หลังจากตรวจสอบข้อมูลสินค้าอย่างละเอียดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ของกรมศุลกากร เจ้าหน้าที่จะแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภท

- ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้านำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากรและวางประกันที่เกี่ยวข้องได้ทันที

- ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) ส่วนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่านที่นำเข้าสินค้านั้น ๆ ก่อนจนกลายเป็นสินค้าแบบ Green Line

ในปัจจุบัน ผู้นำเข้าสามารถชำระได้ 3 วิธี ได้แก่ ที่กรมศุลกากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และที่ธนาคาร

4. เจ้าหน้าที่ตรวจและปล่อยสินค้า เป็น ขั้นตอนนำเข้าสินค้า ลำดับสุดท้าย

ผู้นำเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้ากับใบเสร็จรับเงินที่คลังสินค้าเพื่อปล่อยสินค้า เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลของสินค้าเพื่อความถูกต้องโดยละเอียดอีกครั้ง เพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าวต้องผ่านการเปิดตรวจหรือยกเว้นการตรวจ 

หากเป็นใบขนสินค้าขาเข้ายกเว้นการตรวจ ใช้เวลาน้อยมากและปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร หลังจากนั้นสถานะของการปล่อยสินค้าจะส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปทั้งที่ท่าเรือและผู้นำเข้า

ส่วนสินค้าที่ต้องผ่านการเปิดตรวจตามพิธีการศุลกากร ท่าเรือหรือท่าอากาศยานจะเคลื่อนย้ายสินค้าไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบที่ศุลกากร เมื่อเสร็จเรียบร้อยปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร

สินค้าที่ถูกปล่อยออกมาถูกขนส่งไปยังสถานที่ของผู้ประกอบการ เมื่อได้รับผู้ประกอบการควรตรวจสอบความเรียบร้อยของสินค้าทุกครั้ง

เอกสารที่ต้องเตรียมในขั้นตอนนำเข้าสินค้ามาขายในประเทศ

1.ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมคู่ฉบับ 1 ฉบับ

2. แบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

3. สําเนาใบตราส่งสินค้า

4. สําเนาบัญชีราคาสินค้า

5. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (ถ้ามี)

6. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (ถ้ามี)

7. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสําหรับของควบคุมการนําเข้า (ถ้ามี)

8. ใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)

9. เอกสารที่จําเป็นอื่นๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะ การใช้งานของสินค้า แคตตาล็อก

ธุรกิจนำเข้ายังเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาประลองฝีมือ สร้างโอกาสให้ธุรกิจเติบโต มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ และด้วยการแข่งขันที่สูง ผู้ประกอบการควรมีข้อมูลรอบด้าน เข้าใจลูกค้า ตลาด สินค้า คู่ค้า ชิบปิ้ง ตัวแทนจำหน่าย เครื่องมือทำการตลาด ตลอดจนขั้นตอนนำเข้าสินค้า และเอกสารที่ต้องเตรียมในการนำเข้าสินค้ามาขายในประเทศ เพราะมีขั้นตอนค่อนข้างซับซ้อน ใช้เอกสารจำนวนมาก และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของกรมศุลกากรอย่างเคร่งครัด

แม้หลายท่านใช้บริการชิบปิ้งเพื่อความสะดวกในขั้นตอนนำเข้า ผู้ประกอบการก็ควรเลือกชิบปิ้งมืออาชีพ เชื่อถือได้ มีประสบการณ์นำเข้าสินค้ามาขายในประเทศยาวนาน จะช่วยทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการดำเนินไปด้วยความราบรื่น ไม่ติดขัดปัญหาจนต้องเลิกกิจการกลางคัน 

สิ่งสำคัญผู้ประกอบการต้องติดตามการขั้นตอนนำเข้าสินค้าทุกขั้น เมื่อได้รับสินค้าตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสินค้าและธุรกิจ

เครดิต : taokaemai

เรียบเรียงโดย : โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศเป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด


Visitors: 106,432