ต้นทุนสินค้าในด้านโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง ?

ต้นทุนสินค้าในด้านโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง ?

ต้นทุน (Cost) หมายถึงรายจ่ายที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นและทําให้ธุรกิจได้รับผลประโยชน์หรือ ผลตอบแทนในรูปของสินทรัพย์หรือการบริการ ต้นทุนที่เกิดขึ้นของธุรกิจสามารถแยกพิจารณาตามการใช้ ประโยชน์ที่พึงจะได้รับในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ

ต้นทุนโลจิสติกส์ หมายถึง ต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ด้านโลจิสติกส์ในสถานประกอบการ เพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม และการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และการบริการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ

ต้นทุนสินค้าในด้านโลจิสติกส์ สามารถแบ่งออกเป็นประเภท ได้ 4 ประเภท ดังนี้
1.ต้นทุนการขนส่ง (Transportation Cost) ต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมการขนส่งและบริการซึ่งต้นทุนเหล่านี้ยังผันแปรไปตามความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน เช่น ปริมาณการขนส่ง ผลิตภัณฑ์ที่ขนส่งน้ำหนัก จากจุดกําเนิดสินค้าจนกระทั่งถึงมือลูกค้า รวมไปถึงวิธีการขนส่งที่ก่อให้เกิดต้นทุนที่แตกต่างกัน

2. ต้นทุนคลังสินค้า (Warehousing Costs) ต้นทุนที่เกิดจากกิจกรรมภายในคลังสินค้า เช่น เช่น การตรวจรับสินค้า จัดเก็บ การตรวจคําสั่งซื้อที่เข้ามา การประกอบชิ้นส่วน การติดฉลาก การแยกหรือรวมสินค้า การจัดเก็บสินค้า การถ่ายโอนข้อมูลในคลังสินค้า และการเลือกสถานที่ตั้งคลังสินค้า ซึ่งจะแปรผันไปตามชนิดและขนาดของคลังสินค้า

3. ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ซึ่งจะผันแปรไปกับปริมาณของสินค้าคงคลังและทำให้เกิดต้นทุนด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้
- ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) จากการที่ไม่สามารถนําเงินที่ใช้ในการดูแลสินค้าคงคลังไปลงทุนในส่วน อื่น ได้
- ต้นทุนในการดูแลสินค้าคงคลังได้แก่ ค่าประกันภัย และภาษี
- ต้นทุนพื้นที่การจัดเก็บสินค้า ได้แก่ ต้นทุนด้านสถานที่ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณของสินค้า
- ต้นทุนความเสี่ยงในการจัดเก็บสินค้า ได้แก่ ต้นทุนจากการที่สินค้าหมดอาย ความล้าสมัย การลักขโมยหรือการเสียหายจากระบบการเคลื่อนย้ายภายใน

4. ต้นทุนการบริหาร (Administration Cost) เกิดจากกิจกรรมหลัก 3 ประเภท คือ
ระดับการให้บริการ (Customer Service Level) เป็นเงินที่จ่ายไปเพื่อสนับสนุนการบริการลูกค้า เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำให้คำสั่งซื้อสมบูรณ์ ค่าใช้ในการจัดการสินค้าที่ถูก ส่งคืน เพื่อให้ลูกค้าเกิดการรับรู้และเข้าใจในระดับความสามารถในการบริการของธุรกิจ และความพึงพอใจของลูกค้า

ต้นทุนกระบวนการสั่งซื้อและระบบสารสนเทศ (Order Processing and Information Costs) เป็นต้นทุนที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการจัดการคําสั่งซื้อของลูกค้า การสื่อสารทั้ง ภายในและภายนอกองค์กรและการพยากรณ์ความต้องการ
ทั้งนี้กระบวนการจัดการคําสั่งซื้อนั้นจะรวมถึงการถ่ายทอดคําสั่งซื้อให้กับฝ่ายต่าง ๆ การรับคํา สั่งซื้อ ตรวจสอบคําสั่งซื้อ การติดต่อผู้ขนส่งและข้อมูลลูกค้าปลายทาง และความสามารถในการหาผลิตภัณฑ์ รวมถึงส่วนของระบบข้อมูลข่าวสารที่มีการปรับปรุงเป็นอย่างมาก

ต้นทุนปริมาณ (Lot Quantity Cost) ซึ่งโดยหลักการแล้วจะขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จัดซื้อจัดหาและผลิต จะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามแต่ละรุ่นของสินค้าที่เกี่ยวกับการผลิตและการจัดซื้อนั้น เนื่องจากปริมาณการผลิต ปริมาณคําสั่งซื้อหรือความถี่ในการสั่งซื้อที่เปลี่ยน แปลงในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังรวมถึงต้นทุนต่าง ๆ เช่น ต้นทุนการติดตั้งเครื่องจักร การสูญเสียกําลังการผลิตจากการที่เครื่องจักรเสียระหว่างการผลิต ต้นทุนจากการจัดการวัสด ต้นทุนจากราคาซื้อที่แตกต่างกันเนื่องจากปริมาณในการสั่งซื้อที่แตกต่างกัน

 ** หลักสูตรที่แนะนำ **

เครดิต : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
เรียบเรียงโดย : โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ

Visitors: 61,825