8 ขั้นตอนเข้าใจง่ายตั้งแต่ต้นจนจบ ผ่านศุลกากรแน่นอน

วันนี้จะพูดถึงขั้นตอนนำเข้าส่งออกแบบเข้าใจง่าย เมื่อคุณเริ่มต้นซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าคุณจะนำเข้าหรือส่งออกโดยผ่านเส้นทางไหน ก็จะต้องผ่านขั้นตอนเหล่านี้แน่นอน วันนี้ ITBS จะพาคุณเดินตามเส้นทางสินค้าของคุณตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนจุดสุดท้าย
.
เมื่อคุณตกลงซื้อขายสินค้าแล้ว ผู้ขายก็จะเริ่มผลิตสินค้าให้คุณหรือจัดเตรียมสินค้าในโกดังให้พร้อมส่ง ขั้นตอนการจัดการขนส่งสินค้าที่พร้อมแล้วมีดังนี้
.
8 ขั้นตอนเข้าใจง่ายตั้งแต่ต้นจนจบ ผ่านศุลกากรแน่นอน
ข้อแรกเลยหลังตกลงซื้อขายสินค้าแล้วคุณต้องทำอะไรต่อ มาเรียนรู้ขั้นตอนตั้งแต่หน้าโรงงานไปจนถึงช่วงเวลาที่สินค้าส่งถึงมือลูกค้า (จากหน้าโรงงานผู้ขาย - การขนส่งในประเทศต้นทาง - การทำพิธีการศุลกากรขาออก - Port of Loading - Port of Discharge -พิธีการศุลกากรขาเข้า - การขนส่งในประเทศปลายทาง - การรับสินค้าของผู้ซื้อ)
1. เริ่มที่หน้าโรงงานผู้ขาย (Shipper/Exporter)
จุดแรกของการขนส่งย่อมไม่พ้นผู้ขายหรือผู้ผลิตไปได้ ซึ่งในจุดนี้ส่วนใหญ่เรามักจะเรียกมันว่า “หน้าโรงงาน” ในภาษาไทย หรือ “Shipper” ทั้งนี้ที่เรียกว่าโรงงานก็เพื่อความสะดวกในการเรียก ถึงแม้มันจะเป็นร้านเล็ก ๆ หรือโกดังเก็บสินค้าก็ตาม ส่วน Shipper จะใช้เวลาคุยกับชาวต่างชาติ เพราะแปลตรงตัวว่าผู้ส่งออกหรือผู้ขาย ก็อนุมานกันได้เลยว่าที่จะไปรับสินค้า หรือใครจะใช้คำตรงตัวอย่าง โรงงาน Factory, โกดัง Warehouse หรือ ร้าน Shop ก็ตามสะดวก แต่ขอให้เข้าใจตรงกันว่าสินค้าจะเริ่มต้นออกเดินทางจากที่นี่


.
2. ขนส่งในประเทศต้นทาง (Trucking, Pick-up, Inland หรือ Inland freight)
เมื่อจ่ายค่าสินค้าแล้ว ขนของขึ้นรถบรรทุก คงจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการขนส่งทางรถเป็นการขนส่งหลักไปยังท่าเรือ/ท่าอากาศยานต่าง ๆ และจะขนถ่ายสินค้าอีกที หรือเรียกว่า Trucking, Pick-up, Inland หรือ Inland freight


.
3. การทำพิธีการศุลกากรขาออก (Outbound Customs Clearance)
ในขั้นตอนนี้ผู้ขาย(Shipper) หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder) ที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้จะมีหน้าที่ในการสำแดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร(Customs House) ว่าสินค้าอะไรจะออกจากประเทศ เรียกว่า Outbound Customs Clearance และปกติแล้วขั้นตอนนี้จะกินเวลาไม่นาน หากไม่เจอปัญหาอะไร


.
4. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง (Port of Loading หรือ POL)
เมื่อศุลกากรได้ตรวจปล่อยสินค้าแล้ว สินค้าก็จะได้รับอนุญาตให้เอาขึ้นเรือหรือเครื่องบินที่จัดเตรียมไว้เพื่อขนส่งออกจากประเทศผู้ขาย ในจุดนี้ภาษาเฟรทเราจะเรียกว่า Port of Loading(POL) หลังจากผ่านพิธีการแล้ว ยังต้องมีการผ่านกระบวนการในท่าฯอีกพอสมควร


.
5. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานปลายทาง (Port of Discharge หรือ POD)
ตอนนี้สินค้าก็ได้เดินทางมาถึงยังประเทศของผู้ซื้อแล้ว จุดนี้เมื่อเรือหรือเครื่องบินจอดเทียบท่าแล้ว สินค้าจะถูกลำเลียงเข้าโกดังไว้ รอให้ผู้ซื้อหรือตัวแทนออกของและศุลกากรมาตรวจปล่อยสินค้าต่อไป ในจุดนี้ เรียกว่า Port of Discharge(POD)


.
6. พิธีการศุลกากรสินค้าขาเข้า (Inbound Customs Clearance)
เจ้าพนักงานศุลกากรจะมาตรวจสินค้าที่ผู้ซื้อนำเข้ามาว่าสินค้าที่คุณนำเข้ามาตรงกับที่ได้แจ้งกับกรมศุลกากรไว้หรือไม่ เสียภาษีตรงกับฐานภาษีที่กรมศุลกากรกำหนดหรือไม่ เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาอะไรเมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็ขนออกจากท่าเรือ/ท่าอากาศยานได้เลย จุดนี้คือ Inbound Customs Clearance


.
7. ขนส่งจากท่าเรือ (Trucking)
สินค้าที่ตรวจปล่อยแล้วก็ขนไปยังผู้รับ การขนส่งทางรถในประเทศไทยนั้นมีข้อกำหนดสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่กว่ากระบะด้วย จำง่าย ๆ ว่าในช่วงจราจรคับคั่งตอนพนักงานเข้างานและเลิกงานคือช่วงที่รถใหญ่ห้ามวิ่งในเขตเมือง


.
8. ผู้ซื้อ (Consignee)
ตอนนี้ขั้นตอนสุดท้ายคือ ผู้ซื้อทำการรับสินค้า ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภาระกิจขนส่งสินค้า ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะรับมอบสินค้า ผู้ซื้อที่ดีควรจะตรวจดูความเรียบร้อยของสินค้าก่อนทำการรับมอบทุกครั้งด้วย


.

ผ่านไปแล้วทั้ง 8 จุดที่คุณควรจะเข้าใจก่อนทำการนำเข้าหรือส่งออก ในการขนส่งแต่ละประเทศก็จะมีเวลาในการขนส่งไม่เท่ากันแต่ขั้นตอนก็จะอยู่ใน 8 ขั้นตอนเหล่านี้คะ

.
CR : exptblog และ ITBS
.
แนะนำหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง >> หลักสูตร Import-Export Procedures & Incoterms
.
สถาบันอบรม ITBS ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ภายใต้ TIFFA
ติดต่อสอบถาม รายละเอียด
inbox : http://m.me/ITBSL
Tel : 095-759-8058, 095-174-2589
Line ID : itbsadmin และ itbsteam
e-mail : itbs@itbsthai.com
website : www.itbslogistics.com 

Visitors: 106,643