
![]() |
การขนส่งสินค้าทางทะเล (Sea Freight) การขนส่งสินค้าทางทะเล (Sea Freight) การขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นส่วนประกอบที่สําคัญส่วนหนึ่งของ ระบบการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต เพราะเป็นเพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนสินค้าได้คราวละมากๆ และค่าระวางมีราคาถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ การขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทยเป็นการขนส่งทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นการขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนําเข้าและส่งออกสินค้าจึงควรจะศึกษาและทําความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่สําคัญเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ดังนี้คือ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ได้แก่ - เจ้าของเรือ (Ship Owner) - ผู้เช่าเรือ (Ship Charterer) - ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Shipping Agent & Freight Forwarder) - ผู้ส่งสินค้า (Shipper or Exporter) - ผู้รับตราส่ง (Consignee) - ผู้รับสินค้า (Notify Party) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือได้แก่ 1. บริษัทเรือหรือตัวแทนสายเดินเรือ 2. Sea Freight Forwarder
บทบาทและหน้าที่ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล มีดังนี้ - ตัวแทนสายเดินเรือ (Ship Agent) ตัวแทนสายเดินเรือคือผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าของเรือให้เป็นผู้ดําเนินการแทนเจ้าของเรือ ณ.เมืองท่าต้นทางและเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือมีหน้าที่โดยทั่วไป ดังต่อไปนี้ 1. จัดหาระวางบรรทุกให้แก่ผู้นําเข้าและผู้ส่งออก 2. ออกใบตราส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก 3. ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้นําเข้า
- Freight Forwarder คือ ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ Freight Forwarder อาจทําหน้าที่ หลายอย่าง เช่น บางรายทําหน้าที่เป็นตัวแทนในการจัดหาและจัดการขนส่งสินค้าของผู้ส่งออกไปยังเมืองท่าปลายทางบางรายทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้รับขนส่งสินค้า บางรายอาจทําหน้าที่เป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ (Multimodal Transport Operator) หรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่เจ้าของเรือ (Non-Vessel Operating Common Carrier (NVOCC)) Freight Forwarder มี 2 ประเภท ได้แก่ 1. Sea Freight Forwarder 2. Air Freight Forwarder
ตารางเดินเรือ (Shipping Schedule) ตารางเดินเรือมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อการนําเข้าและส่งออก เพราะมีผลโดยตรงต่อการส่งมอบสินค้า ดังนั้นผู้นําเข้าและผู้ส่งออกจึงจําเป็นจะต้องทราบตารางเดินเรือเพื่อที่จะกําหนดระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าหรือให้ทันต่อความต้องการของสายการผลิตในกรณีที่เป็นการนําเข้า หรือ กําหนดระยะเวลาในการผลิตหรือรวบรวมสินค้าเพื่อให้ทันต่อเที่ยวเรือที่จะส่งออกก่อนที่ L/C หรือคําสั่งซื้อจะหมดอายุ
ขั้นตอนการขนส่งสินค้าทางเรือ (Sea Freight) - ผู้นำเข้าหรือส่งออก ตรวจสอบสินค้า - ติดต่อบริษัทตัวแทนขนส่ง - นัดสถานที่รับสินค้าและจัดเตรียมเอกสาร - จัดส่งสินค้าและรับเอกสาร B/L
เอกสารสำคัญที่ใช้ในการนำเข้า-ส่งออก (Sea Freight) - ใบขนสินค้า - ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading) - บัญชีราคาสินค้า (Comercial Invoice) - บัญชีบรรจุหีบห่อ (Packing List)
การขนส่งสินค้าทางทะเลเป็นบริการหลักบริการหนึ่งตั้งแต่อดีต จนถึงปัจุบัน ด้วยความสะดวกเรื่องของจำนวนสินค้าที่สามารถขนส่งสินค้าได้เป็นจำนวนมาก คราวนี้เรามาดูกันว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลมีข้อดีอะไรบ้าง 1. เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม เรือนั้นจะใช้การเผาผลาญของเชื้อเพลิงน้อยซึ่งเป็นการลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดังนั้นขนส่งโดยเรือจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จึงเป็นผลดีต่อระบบนิเวศน์ทางน้ำเเละสิ่งที่ชีวิต 2. การจราจร ถ้าจะพูดถึงการจราจรที่หนาเเน่นของระบบขนส่งนั่น อาจจะกล่าวได้ว่าขนส่งทางน้ำแทบจะนับจำนวนการเดินเรือได้เลยเมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ของน้ำทะเล เป็นเหตุให้ว่าขนส่งทางน้ำมีประสิทธิภาพมากที่สุด 3. ค่าใช้จ่ายถูก การขนสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังจุดปลายทางเดียวกับหลายๆบริษัท จึงทำให้ต้นทุนของบริษัทเดินเรือได้ถูกเเชร์ออกไปเป็นค่าบริการของผู้ใช้บริการเเต่ละเจ้า เลยทำให้เราได้ค่าบริการที่ถูก 4. ขนาดเเละปริมาณสินค้า สินค้าส่วนใหญ่ คือ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ดังนั้นจึงเหมาะเเก่การขนสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ขนาดใหญ่เเละปริมาณมากในครั้งเดียว
เครดิต : goodfreight-th, vfriendlogistics.com, lazypax เรียบเรียงโดย : โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ
|